ระยะเวลาในอบรม 3 วัน รวม 18 ชั่วโมงวันที่
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรของส่วนงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในครั้งที่ 1 จำกัดเฉพาะส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้แก่ส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและอำเภอวังน้อย พระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ ส่วนงานดังกล่าวสามารถส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรมได้ส่วนงานละ 1 ท่าน
คุณสมบัติและจำนวนผู้เข้าอบรม
เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งได้รับมอบหมายให้สร้างและดูแลเว็บไซต์ส่วนงานต้นสังกัดและสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการเขียนเว็บไซต์มาก่อนจำนวน 30 ท่าน
สถานที่ฝึกอบรม
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ C114 อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย
วิทยากร
นายนพดล เพ็ญประชุม นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เป็นวิทยากร
นายวิศรุต จิมานัง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ช่วยวิทยากร
นายฐิติวัฒน์ หวังสุขใจ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ช่วยวิทยากร
นางสาวสุพัตรา ทองสุข นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ช่วยวิทยากร
คำอธิบายหลักสูตร
Joomlaเป็นโปรแกรมลิขสิทธิ์ Open Source –CMS (สามารถใช้งานได้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย)ประกอบด้วยส่วนเว็บไซต์ที่แสดงเนื้อหาให้ผู้ที่มาเยี่ยมชม และส่วนระบบจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์สำหรับผู้ดูแลระบบ ผู้พัฒนาสามารถนำ Joomlaมาปรับปรุงตั้งค่าและประยุกต์ใช้งานตามความต้องการของตนได้อย่างอิสระ
ขอบข่ายเนื้อหา
1.แนะนำโปรแกรมพื้นฐานประกอบการอบรม
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ CMS, AppServและ MySQL
– ความสำคัญ และ
– การทำงานร่วมกัน
2. ติดตั้งโปรแกรมต่างๆ
– ติดตั้ง AppServ
-ติดตั้ง Joomla
– ติดตั้งชุดภาษาไทย
3. การตั้งค่าทั่วไปของเว็บไซต์ (Global Configuration)
– การตั้งค่า Configส่วนของ Site
– การตั้งค่า Configส่วนของ System
– การตั้งค่า Configส่วนของ Server
4. การจัดการสมาชิก และระดับการเข้าถึง (User Manager)
– ศึกษากลุ่มของสมาชิก (Group) และสิทธิ์ของแต่ละกลุ่ม
– การเพิ่ม/ลบสมาชิก
5. การจัดการสื่อ (Media Manager)
– การสร้าง Folders หรือ Directory สำหรับเก็บรูปภาพ และไฟล์สื่อต่างๆ
– การจัดการ Folders
– การอัพโหลดรูปภาพและสื่ออื่นๆ
6. การจัดการเทมเพลท(Template Manager)
– การติดตั้งเทมเพลท
– การเรียกดูตำแหน่งของโมดูล (Module Position)
– การแก้ไขเทมเพลทเบื้องต้น
7. การสร้างเนื้อหาเว็บไซต์(Content Manager)
– โครงสร้างเนื้อหาเว็บไซต์
– การจัดการหมวดหมู่ของเนื้อหา (Category)
– การจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ (Article)
– การตั้งค่ามาตรฐานของการแสดงเนื้อหาภายในเว็บไซต์ (Content Options)
8. การสร้าง Contact
– แนะนำ และสร้าง Contact
– การสร้าง Contact Form และการใส่ Map
9. การจัดการเมนู(Menu Manager)
– ระบบการจัดการเมนู (Menu Manager)
– การสร้างกลุ่มเมนู
– การทำเมนูเพื่อแสดงเนื้อหาในหมวดหมู่ (Category)
– การทำเมนูเพื่อแสดงเนื้อหาโดยตรง (Article)
– การตั้งค่าการแสดงผลของเนื้อหา
– การสร้างโมดูล เพื่อแสดงกลุ่มเมนู และ การสร้าง Tab Menu
10. การจัดการส่วนเสริม (Extension Manager)
– ทำความเข้าใจกับ Extension (Plugin/Module/Template)
– การติดตั้ง / ยกเลิก Extension (Install / Uninstall)
– การเปิดใช้งาน Extension
11. การจัดการโมดูล (Module Manager)
– การติดตั้งโมดูล
– การจัดการโมดูล (แสดง / ไม่แสดงโมดูล, ย้ายตำแหน่งโมดูล, ตั้งค่า Parameter ของโมดูล)
12. โอนย้ายเว็บไซต์ขึ้นเชิฟเวอร์จริง
– โปรแกรมสำหรับโอนย้าย
– การตั้งค่าต่างๆ
การวัดผลและการประเมินผลโครงการ
การประเมินผลการฝึกอบรมโดยใช้แบบทดสอบความรู้และแบบสอบถาม โดยกำหนดตัวชี้วัดดังนี้
จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ในเนื้อหาหลักสูตรเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีระดับความพึงพอใจในภาพรวมของโครงการฯไม่น้อยกว่าระดับพึงพอใจมาก (3.51)