หลักสูตรการบริหารจัดการเว็บไซต์ให้ปลอดภัย


ขอบข่ายเนื้อหา

การอัพโหลด/ดาวน์โหลด ด้วย ftp

  • การบริหารจัดการ User/Password
  • การกำหนดค่า
  • Permission Mode
  • Policy of Chrooted
  • การจำกัด IP Address

เว็บโดนแฮกจากทางไหนได้บ้าง

  • เริ่มทำการป้องกัน
    • การจัดการเกี่ยวกับรหัสผ่าน
    • การจัดการเกี่ยวกับ Script ที่ไม่ปลอดภัย
    • SQL Injection
    • Cross Site Scripting (XSS)
    • Remote Code Executions
  • แนวทางการบริหารจัดการเว็บไซต์ที่ทำด้วย Joomla CMS อย่างปลอดภัย
    • เสริมการป้องกัน Joomla ให้ปลอดภัยมากขึ้น
    • เปลี่ยน Meta description และ Meta Keyword
    • ซ่อน META Tags Generator
    • ป้องกันการโดนแฮก Joomla ด้วย HackGuard
  • แนวทางการบริหารจัดการเว็บไซต์ที่ทำด้วย WordPress CMS อย่างปลอดภัย
    • ลดความเสี่ยงจากการถูกแฮกรหัสผ่าน
    • ป้องกันด้วย .htaccess
    • ป้องกัน wp-config.php
    • ป้องกันการ login จาก IP อื่น
    • ป้องกันจาก IP ไม่พึงประสงค์
    • หลีกเลี่ยงการใช้งาน
    • plugin ที่ไม่มีแหล่งที่มา

หลักสูตรการพัฒนาเว็บไซต์ส่วนงานด้วยJoomla CMS ขั้นสูง


ชื่อหลักสูตร : อบรมเชิงปฎิบัติการพัฒนาเว็บไซต์ส่วนงานด้วยJoomla CMS ขั้นสูง

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้ามามีบทบาทสําหรบองค์กรมากขึ้น ได้มีการพัฒนารูปแบบการพัฒนาเว็บไซต์ โดยนําเอาเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความทันสมัย มาใช้แทนการพัฒนาแบบเดิม ทําให้ผู้ดูแลเว็บไซต์มีความเข้าใจในเทคโนโลยีทางด้านการพัฒนาเว็บไซต์ได้รวดเร็วขึ้น อย่างไรก็ตามการพัฒนาเว็บไซต์ให้มีประสทธิภาพนั้น นอกจากต้องอาศัยความสามารถทางวิชาการของผู้จัดทําแล้วจําเป็นต้องใช้เทคนิคด้านต่างๆ ของโปรแกรม CMS (Content Management System) ให้การพัฒนาเว็บให้น่าสนใจมากขึ้นด้วย Extensions ยอดนิยม รวมถึงการจัดทำ SEO ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ส่วนงานผ่านช่องทางต่างๆ

ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เล็งเห็นความสําคัญของการนําเอาเทคโนโลยีสารสนเทศอันทันสมัยมาใช้สําหรับพัฒนาเว็บไซต์ของส่วนงาน จึงได้จัดการอบรมเชิงปฎิบัติการการพัฒนาเว็บไซต์ส่วนงานด้วยJoomla CMS ขั้นสูง โดยการอบรมครั้งนี้เป็นการอบรมต่อเนื่องจากหลักสูตรการสร้างและจัดการเว็บไซต์ด้วย Joomla

วัตถุประสงค์

๔.๑ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ส่วนงานด้วย Extensions ยอดนิยม
๔.๒ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมนำความรู้ไปประยุกต์พัฒนาเว็บไซต์ของส่วนงานให้น่าสนใจมากขึ้น
๔.๓ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถทำ SEO ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ของส่วนงาน

ขอบข่ายเนื้อหาหลักสูตร

  • ทบทวน Joomla เบื้องต้น
  • พัฒนาเว็บไซต์ให้แสดงผลแบบ Responsive
  • ทำการ Post ความคิดเห็นต่อท้ายบทความได้ด้วย (Facebook Comment)
  • พัฒนาระบบแกลอรี่รูปภาพ (Gallery)
  • พัฒนาระบบเว็บบอร์ด (Forum)
  • ทำระบบดาวน์โหลด(Phoca Download)
  • พัฒนาระบบจัดการเอกสาร (Document Download)
  • Article Tabs ปรับบทความให้น่าสนใจโดยแสดงผลแบบ Tabs
  • ปรับแต่ง บทความให้เป็นมืออาชีพ
  • พัฒนาระบบปฏิทินกิจกรรม ( EventsCalendar)
  • พัฒนาระบบวิดีโอบนเว็บไซต์ (video on demand)
  • การใช้งานเครื่องมือ JCE Editor
  • สร้างเว็บไซต์หลายภาษา
  • ทำLike หรือ Share เพื่อทำให้เพื่อนที่อยู่ใน Social Media ต่างๆนั้นได้เห็นด้วย Social Bookmarking
  • วิเคราะห์ผู้เข้าชมเว็บไซต์ ด้วยHistats
  • วิเคราะห์เว็บไซต์ด้วย google Analytics
  • ทำ SEO ให้กับเว็บไซต์ ด้วย Google Webmaster Toole

การประเมินผล

-การตอบแบบประเมินผลโครงการ
-ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถพัฒนาเว็บไซต์ส่วนงานให้น่าสนใจด้วยExtensions ยอดนิยมของJoomla
-ผู้เข้าร่วมอบรมพัฒนาชิ้นงานเพื่อประยุกต์ใช้งานในส่วนงาน

ผลที่คาดจะได้รับ

– ผู้เข้าร่วมอบรมผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาเว็บไซต์ส่วนงานด้วยJoomla CMS ขั้นสูง  สำหรับบุคลากรส่วนกลาง
– ผู้เข้าร่วมอบรมได้รู้จักวิธีพัฒนาเว็บไซต์ส่วนงานให้น่าสนใจ
-ผู้เข้าร่วมอบรมได้รู้ขั้นตอนประยุกต์ปรับแต่งเว็บไซต์ด้วย extensions ยอดนิยมของ Joomla
-ผู้เข้าร่วมอบรมจัดทำ SEO ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ส่วนงาน

 

หลักสูตร Cisco Network Router/Switch Configuration & Management


131256

ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ Cisco Network Router/Switch Configuration & Management ”
เพื่อพัฒนาบุคลากรระดับวิทยาเขต และวิทยาลัยสงฆ์ให้รองรับการพัฒนาระบบสื่อสัญญาณความเร็วสูงที่จะมีการขยาย
ความเร็วเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ ๒๕๕๗ ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๖ ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ C ๑๑๔ อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย พระนครศรีอยุธยา

กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ
Cisco Network Router/Switch Configuration & Management

วันแรก
1. ภาพรวม ระบบเครือข่าย MCUNet ปัจจุบัน
2. IP Address
3. การติดตั้งและใช้งานโปรแกรมจำลองเครือข่าย Package Tracer
4. การติดตั้ง Router ในโปรแกรม Package Tracer
4.1 ติดตั้งปกติ
– จำลองเครือข่ายขนาดเล็ก ประกอบด้วย Router, Switch, Server, PC
– เชื่อมต่ออุปกรณ์และสายสัญญาณ
– กำหนดค่าเบื้องต้นให้ Router เช่น Hostname, IP, User
– Nat, DHCP
– ทดสอบการทำงานของระบบ
4.2 ติดตั้งเพื่อทำงานร่วมกับ Switch ผ่าน Vlan
– จำลองเครือข่ายขนาดเล็ก ประกอบด้วย Router, Switch, Server, PC
– เชื่อมต่ออุปกรณ์และสายสัญญาณ
– กำหนดค่าเบื้องต้นให้ Router และ Switch เช่น Hostname, IP, User
– Vlan
– ทดสอบการทำงานของระบบ

วันที่สอง
5. การติดตั้ง Router โดยใช้อุปกรณ์จริง
– แนะนำข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ Cisco Router
– เชื่อมต่ออุปกรณ์และสายสัญญาณ
– การติดตั้ง Router ผ่านสาย Console
6. การตรวจสอบและแก้ปัญหาเบื้องต้น

วันที่สาม
1. การติดตั้งผ่าน command line
– การติดตั้ง Switch ผ่านสาย Console
– กำหนดค่าเบื้องต้นให้ Switch เช่น Hostname, IP, User
– Vlan
– Spanning-tree
2. การติดตั้งผ่าน gui
– การติดตั้ง Switch ผ่าน Browser
– กำหนดค่าเบื้องต้นให้ Switch เช่น Hostname, IP, User
– Vlan
– Spanning-tree
3. การตรวจสอบและแก้ปัญหาเบื้องต้น
– Mac address
– Status
– Log

หลักสูตรการพัฒนาและการดูแลเว็บไซต์ส่วนงานด้วย Joomla


ระยะเวลาในอบรม 3 วัน รวม 18 ชั่วโมงวันที่ 

กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรของส่วนงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในครั้งที่ 1 จำกัดเฉพาะส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้แก่ส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและอำเภอวังน้อย พระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ ส่วนงานดังกล่าวสามารถส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรมได้ส่วนงานละ 1 ท่าน

คุณสมบัติและจำนวนผู้เข้าอบรม
เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งได้รับมอบหมายให้สร้างและดูแลเว็บไซต์ส่วนงานต้นสังกัดและสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการเขียนเว็บไซต์มาก่อนจำนวน 30 ท่าน

สถานที่ฝึกอบรม
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ C114 อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย

วิทยากร
นายนพดล เพ็ญประชุม นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เป็นวิทยากร
นายวิศรุต จิมานัง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ช่วยวิทยากร
นายฐิติวัฒน์ หวังสุขใจ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ช่วยวิทยากร
นางสาวสุพัตรา ทองสุข นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ช่วยวิทยากร

คำอธิบายหลักสูตร
Joomlaเป็นโปรแกรมลิขสิทธิ์ Open Source –CMS (สามารถใช้งานได้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย)ประกอบด้วยส่วนเว็บไซต์ที่แสดงเนื้อหาให้ผู้ที่มาเยี่ยมชม และส่วนระบบจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์สำหรับผู้ดูแลระบบ ผู้พัฒนาสามารถนำ Joomlaมาปรับปรุงตั้งค่าและประยุกต์ใช้งานตามความต้องการของตนได้อย่างอิสระ

ขอบข่ายเนื้อหา
1.แนะนำโปรแกรมพื้นฐานประกอบการอบรม
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ CMS, AppServและ MySQL
– ความสำคัญ และ
– การทำงานร่วมกัน
2. ติดตั้งโปรแกรมต่างๆ
– ติดตั้ง AppServ
-ติดตั้ง Joomla
– ติดตั้งชุดภาษาไทย
3. การตั้งค่าทั่วไปของเว็บไซต์ (Global Configuration)
– การตั้งค่า Configส่วนของ Site
– การตั้งค่า Configส่วนของ System
– การตั้งค่า Configส่วนของ Server
4. การจัดการสมาชิก และระดับการเข้าถึง (User Manager)
– ศึกษากลุ่มของสมาชิก (Group) และสิทธิ์ของแต่ละกลุ่ม
– การเพิ่ม/ลบสมาชิก
5. การจัดการสื่อ (Media Manager)
– การสร้าง Folders หรือ Directory สำหรับเก็บรูปภาพ และไฟล์สื่อต่างๆ
– การจัดการ Folders
– การอัพโหลดรูปภาพและสื่ออื่นๆ
6. การจัดการเทมเพลท(Template Manager)
– การติดตั้งเทมเพลท
– การเรียกดูตำแหน่งของโมดูล (Module Position)
– การแก้ไขเทมเพลทเบื้องต้น
7. การสร้างเนื้อหาเว็บไซต์(Content Manager)
– โครงสร้างเนื้อหาเว็บไซต์
– การจัดการหมวดหมู่ของเนื้อหา (Category)
– การจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ (Article)
– การตั้งค่ามาตรฐานของการแสดงเนื้อหาภายในเว็บไซต์ (Content Options)
8. การสร้าง Contact
– แนะนำ และสร้าง Contact
– การสร้าง Contact Form และการใส่ Map
9. การจัดการเมนู(Menu Manager)
– ระบบการจัดการเมนู (Menu Manager)
– การสร้างกลุ่มเมนู
– การทำเมนูเพื่อแสดงเนื้อหาในหมวดหมู่ (Category)
– การทำเมนูเพื่อแสดงเนื้อหาโดยตรง (Article)
– การตั้งค่าการแสดงผลของเนื้อหา
– การสร้างโมดูล เพื่อแสดงกลุ่มเมนู และ การสร้าง Tab Menu

10. การจัดการส่วนเสริม (Extension Manager)
– ทำความเข้าใจกับ Extension (Plugin/Module/Template)
– การติดตั้ง / ยกเลิก Extension (Install / Uninstall)
– การเปิดใช้งาน Extension
11. การจัดการโมดูล (Module Manager)
– การติดตั้งโมดูล
– การจัดการโมดูล (แสดง / ไม่แสดงโมดูล, ย้ายตำแหน่งโมดูล, ตั้งค่า Parameter ของโมดูล)
12. โอนย้ายเว็บไซต์ขึ้นเชิฟเวอร์จริง
– โปรแกรมสำหรับโอนย้าย
– การตั้งค่าต่างๆ
การวัดผลและการประเมินผลโครงการ
การประเมินผลการฝึกอบรมโดยใช้แบบทดสอบความรู้และแบบสอบถาม โดยกำหนดตัวชี้วัดดังนี้
จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ในเนื้อหาหลักสูตรเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีระดับความพึงพอใจในภาพรวมของโครงการฯไม่น้อยกว่าระดับพึงพอใจมาก (3.51)